ads

Slider[Style1]

Style3[OneLeft]

Style3[OneRight]

Style2

Style4

Style5[ImagesOnly]

Style6



ระดับต่างๆ ของสมาธิ

           แม้ว่าสมาธิจิตมีอยู่ ๓ ระดับ แต่ตามหลักกรปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจิตที่เป็นสมาธิในบางระดับเท่านั้นที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา สมาธิจิต ๓ ระดับ ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย

            ๑. ขณิกสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดขึ้นชั่วระยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

             ๒. อุปจารสมาธิ หมายถึงสภาพของจิตที่เข้าสู่สมาธิแบบเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่ใกล้จะเข้าสู่ปฐมฌาน เป็นภาวจิตที่ประณีตขึ้นมาจากขณิกสมาธิ แม้ว่าภาวจิตถูกควบคุมจะอยู่ในอารมณ์หนึ่ง ( เอกัคตา ) แต่ยังไม่ลึกและแน่วแน่ มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปมาและยังมีการรับรู้อยู่บางระดับหนึ่ง มีความประณีตกว่าขณิกสมาธิและสมาธิระดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ

             ๓. อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิที่แนบสนิทอยู่ในฌานหรือสมาบัติ ๘ ฌานเหล่านี้จัดเป็นระดับของสภาวจิตที่อยู่เหนือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในขณะนั้น จิตจะอยู่เหนือการรับรู้ทางจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ และความรู้สึกจากทางผัสสะ เป็นสมาธิจิตที่อยู่เหนือการควบคุมของเจตสิกที่เป็นเวทนา คืออารมณ์ความรู้สึกพึงสังเกตุว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนาแบบแรกนั้น จิตจะอยู่ในสมาธิระดับต้นๆ ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิยังไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ส่วนอัปปนาสมาธินั้น เป็นสมาธิในการบำเพ็ญฌานสมาบัติตามแบบโยคะ ที่พุทธศาสนาสามารถนำมาเป็นฐานต่อไปยังการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็นขั้นที่ ๙ ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ



             นี่คือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธกับบำเพ็ญสมาธิตามแบบโยคะ โดยฝ่ายแรกเน้นการทำสมาธิเพื่อพัฒนาปัญญาบนฐานแห่งความเป็นจริงในสัจธรรม ตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๓ กล่าวคือ พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อความหลุดพ้นด้วยการกำหนด อนัตตลักษณะ อนิจจลักษณะ และ ทุกขลักษณะ ขณะที่ฝ่ายหลังเป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งไปไกลสู่ฌานวิเศษเพื่อบรรลุโมกษะตามความเชื่อของปรัชญาอุปนิษัท

             สมาธิระดับที่สาม หรืออัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่จิตถูกควบคุมให้อยู่ในอารมณ์เป็นหนึ่ง ( เอกัคคตา ) เป็นสมาธิจิตที่มีความประณีตลุ่มลึกเหนือสิ่งรบกวนจากภายนอกโดยสมบูรณ์ เป็นภวจิตที่กลายมาเป็นนายตนเองมีศักยภาพที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติหลงยึดติดในอัตตาปฏิเสธการรับรู้ในกฏธรรมชาติเช่นในกฏไตรลักษณ์ได้

             อัปปนาสมาธิ เป็นผลสำเร็จจากการเจริญสมาธิภาวนาที่เรียกว่า ฌานสมาบัติ ซึ่งมีอยู่ ๒ ระดับคือ

             ๑. รูปฌาน ๔ ระดับแรกเป็นสมาธิจิตที่เกิดขึ้นโดยวิธีต่างๆ ด้วยการเพ่งวัตถุภายนอก ( กสิณ ) เช่น ดิน ไฟ น้ำ หรือเพ่งสมาธิไปที่สีต่างๆ ผลจากการเพ่ง ก่อให้ได้ฌานเป็น ๔ ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ติยฌาน และ จตุตถฌาน ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นเกี่ยวกับบทที่ว่าด้วยสัมมาสมาธิ

              ๒. อรูปฌาน มี ๔ ระดับ เป็นการเจริญสมาธิภาวนาต่อจากเจริญภาวนาในระดับรูปฌาน โดยเปลี่ยนจากการเพ่งกสิณทางรูปธรรมไปเป็นการเพ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่นการเพ่งกำหนดในความว่างหาที่สุดมิได้จนบรรลุฌานที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ เพ่งในวิญญาณอัหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะกำหนดเพ่งในภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์จนได้ฌานที่เรียกว่าอากิญจัญญายตนะ และฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่และไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็น 
อัปปนาสมาธิขั้นที่ ๘ ที่ถือว่าเป็นฌานสูงสุดในระดับโลกียะ

              แม้ว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนาจนบรรลุรูปฌานชันสูงสุดจะสมารถเพิ่มพลังจิตได้หลายอย่าง แต่ก็อาจทำให้จิตประสาทเกิดความแปรปรวน จนสำคัญตนผิดคิดว่าบรรลุฌานวิเศษอันมิใช่วัตถุประสงค์แะเป้าหมายในทางพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้บรรลุธรรมเข้าสู่กระแสนิพพานและหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้

             ตามหลักทางพุทธศาสนา การบรรลุฌานทั้งในระดับรูปฌานและอรูปฌานยังถือว่าเป็นสมาธิจิตในระดับโลกียะ ความเพียรพยายามในการบำเพ็ญสมาธิจะด้วยวิธีการใดๆ แม้จะบรรลุขั้นสูงสุดแห่งอรูปฌานถึงระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วก็ตาม ก็ยังจัดเป็นเพียงการบรรลุขั้น " สมถะ " เท่านั้น ผู้ที่สำเร็จมรรคผลได้จะต้องปฏิบัติทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา จึงจะสามารถเข้าถึงภาวะอันประณีต สูงสุดขั้นที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ ภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ อันเป็นระดับของจิตขั้นสูงสุดในทางพุทธศาสนา





By แก่นพุทธธรรม

«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น: