ads

Slider[Style1]

Style3[OneLeft]

Style3[OneRight]

Style2

Style4

Style5[ImagesOnly]

Style6

BUN =  ย่อมาจาก blood urea nitrogen แปลว่าไนโตรเจนในรูปของยูเรีย  ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งโดยไต การวัดระดับค่าของ BUN เป็นตัวบ่งบอกว่าเลือดไหลไปกรองที่ไตมากพอหรือไม่ ในภาวะที่เลือดไหลไป่กรองที่ไตน้อยลง เช่นในภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเลือดไปทางอื่นเช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือในภาวะช็อก ระดับของ BUN จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าปกติของBUN คือ 8-24 ของคุณวัดได้ 23 ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างน้อยก็บ่งบอกว่าเลือดยังไหลไปกรองที่ไตดีอยู่ ร่างกายไม่ได้อยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือเสียเลือด

5.. Cr = เขียนเต็มว่า Creatinine แปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อของคนเรานี้มันสลายตัวและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา คนมีกล้ามมากก็สลายตัวมากสร้างมาก Cr ซึ่งเป็นเศษซากที่สลายตัวออกมาจะถูกไตขับทิ้งไป แต่ในกรณีที่ไตเสียการทำงาน เช่นเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะขับ Cr ออกทิ้งไม่ทันกับที่กล้ามเนื้อสลายออกมา ทำให้ระดับ Cr ในเลือดสูงผิดปกติ ค่าปกติของมันคือ 0.7-1.2 mg/dL แต่ของคุณได้ตั้ง 1.5ซึ่งสูงผิดปกติ แสดงว่าไตของคุณเริ่มจะทำงานไม่ดีแล้ว หรือเริ่มเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว ตรงนี้ “เป็นเรื่อง” ที่คุณจะต้องติดตามเจาะลึกต่อไป

6.. eGFR = เรียกสั้นๆว่า จีเอฟอาร์. ย่อมาจาก estimated glomerular filtration rateแปลว่าอัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที ค่านี้ได้จากการคำนวณเอาจาก Cr กับอายุ และชาติพันธุ์ของเจ้าตัว ห้องแล็บที่ยังไม่ทันสมัยจะไม่รายงานค่านี้ ถ้าเจ้าตัวอยากทราบค่านี้ต้องเอาค่า Cr ที่ได้ไปอาศัย GFR calculator ตามเว็บในเน็ทคำนวณให้ ค่าจีเอฟอาร์.นี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ใช้แบ่งระดับความรุนแรงของคนที่ Cr ผิดปกติอย่างคุณนี้ว่ามีความรุนแรงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะไหนของ ระยะ กล่าวคือ

ระยะที่ ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว แต่ไตยังทำงานปกติ (จีเอฟอาร์ 90 มล./นาที ขึ้นไป) 
ระยะที่ ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว และไตเริ่มทำงานผิดปกติเล็กน้อย (จีเอฟอาร์ 60-89 มล./นาที) 
ระยะที่ ไตทำงานผิดปกติปานกลาง ไม่ว่าจะตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตหรือไม่ก็ตาม (จีเอฟอาร์ 30-59 มล./นาที)
ระยะที่ ไตทำงานผิดปกติมาก (จีเอฟอาร์ 15-29 มล./นาที)
ระยะที่ 5. ระยะสุดท้าย (จีเอฟอาร์ต่ำกว่า 15 หรือต้องล้างไต)

1.. คุณต้องรีบป้องกันไตของตัวเองไม่ให้เสื่อมไปมากกว่านี้ โดย

1.1  งดยาที่มีพิษต่อไตเด็ดขาด โดยเฉพาะยาแก้ปวดแก้อักเสบ ซึ่งผมเดาว่าคุณคงจะกินแก้ปวดเข่าของคุณอยู่ ต้องเลิก หรือจำกัดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะยานี้ทำให้ไตพัง

1.2 งดการตรวจวินิจฉัยด้วยการฉีดสารทึบรังสีอย่างสุดชีวิต เพราะการฉีดสารทึบรังสีเป็นการขย่มเนื้อไตให้พังอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังได้มากที่สุด ถ้าหมอจะทำต้องหาทางหลีกไปทำด้วยวิธีอื่นที่ไม่มีการใช้สารทึบรังสี

1.3 อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะร่างกายขาดน้ำเป็นตัวเร่งการเสื่อมของไต ถ้าขาดน้ำมากๆไตอาจจะพังไปเลยในชั่วข้ามวัน ให้คุณดื่มน้ำวันละอย่างน้อย ลิตร ตั้งน้ำไว้ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องทีวี ห้องน้ำ เลิกนิสัยดื่มน้ำจากตู้เย็น เพราะการต้องลุกเดินไปเอาน้ำจากตู้เย็นทำให้ไม่ได้ดื่มน้ำสักที

1.4 สืบค้นให้แน่ใจว่าไม่มีโรคไตที่แก้ไขได้แต่คุณยังไม่รู้ จะให้ดีไปหาหมอไตอย่างน้อยสักหนึ่งครั้ง เพราะขณะนี้คุณเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว ไม่ไปหาหมอไตแล้วคุณจะไปหาลิง (อุ๊บ ขอโทษ) คุณจะไปหาหมอสาขาไหนละครับ การสืบค้นที่ควรทำคืออย่างน้อยควรตรวจอุลตร้าซาวด์ไตดูว่ามีนิ่วซึ่งอาจจะเอาออกได้ง่ายๆหรือเปล่า ตรวจโปรตีน (microalbumin) ในปัสสาวะเพื่อดูว่าการทำงานของไตเสียมากหรือเปล่า คือถ้าเสียมากก็จะมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมาก


การหลีกเลี่ยงยาหรือสารพิษที่ทำลายไต ได้แก่ 

2.1 ยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่มไม่ใช่สะเตียรอยด์ (NSAID) และกลุ่ม COX2 inhibitors

2.2 ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม aminoglycosides ซึ่งเป็นพิษต่อไต 

2.3 การฉีดสารทึบรังสี (radiocontrast agents) เพื่อการวินิจฉัยโรคทางเอ็กซเรย์แบบพิเศษต่างๆ 

2.4 สมุนไพรต่างๆ เพราะสมุนไพรหลายชนิดเป็นพิษต่อไต

2.5 ระวังยาที่ทำให้โปตัสเซียมสูง เช่นยาในกลุ่ม ACEI 

3. โภชนาการ ถือหลักดังนี้

3.1 กินโปรตีนในปริมาณพอดีเท่าที่ร่างกายต้องการ ไม่มากเกินไปจนก่อให้เกิดการเสื่อมของไต ไม่น้อยเกินไปจนเกิดภาวะทุพโภชนาการ กรณีของคุณเป็นโรคในระยะที่ 3 ควรได้รับโปรตีนวันละ 0.6 – 0.8 กรัม/กก.นน.ตัวที่ควรเป็น คุณน้ำหนัก 68 กก. ก็ควรได้โปรตีนประมาณวันละ 50 กรัม ต้องเข้าใจนะว่าอาหารโปรตีนที่เรากินทั่วไปเช่นเนื้อหมู ปลา ไก่ ไข่ นม มีโปรตีนประมาณ 20% เท่านั้น ที่เหลือเป็นส่วนของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกาก อย่าเข้าใจว่าไข่หนึ่งฟอง 70 กรัม ได้โปรตีน 70 กรัม ไม่ใช่นะ ได้แค่ 14 กรัมดท่านั้น 

3.2 แคลอรี่ต้องไม่น้อยเกินไปจนเกิดการสลายโปรตีน และไม่มากเกินไปจนเหลือใช้และเก็บสะสมในรูปไขมัน ถ้าอายุต่ำกว่า 60 ปีอย่างคุณก็ควรได้แคลอรี่วันละ 35 แคลอรีต่อกก. อาหารอะไรให้กี่แคลอรี่คุณก็หัดอ่านฉลากแล้วลองคำนวณดูเอาเอง

3.3 ต้องหัดทานอาหารจืดเข้าไว้ จืดสนิทยิ่งดี เพราะเกลือโซเดียมไม่ถูกกับโรคไต

3.4 การรับประทานผักและผลไม้ในระยะนี้ซึ่งระดับโปตัสเซียมยังปกติให้ทานอะไรก็ได้อย่างอิสระไม่ต้องระวังอะไร 
แต่ถ้าเป็นโรคระยะปลาย (ซึ่งกรณีคุณจะไม่เป็นเพราะคุณยังป้องกันทัน) คือเมื่อมีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงแล้วก็ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมต่ำ อันได้แก่ แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ ถั่วแขก หอมใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก หรือผลไม้ต่างๆเช่น สับปะรด แตงโม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ชมพู่ พุทรา มังคุด ลองกอง องุ่นเขียว เงาะ แอปเปิ้ล ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง อันได้แก่ เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลี ดอกกะหล่ำ แครอท แขนงกะหล่ำ ผักโขม ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ยอดฟักแม้ว ใบแค ใบคื่นช่าย ข้าวโพด มันเทศ มันฝรั่ง ฟักทอง อโวคาโด และน้ำผลไม้และผลไม้ต่างๆเช่น น้ำแครอท น้ำมะเขือเทศ กระเจี๊ยบ น้ำผัก ผักแว่น ผักหวาน สะเดา หัวปลี กล้วย กล้วยหอม กล้วยตากฝรั่ง ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า กระท้อน ลำไย ลูกพลับ ลูกพรุน ลูกเกด มะม่วง มะเฟือง มะปราง มะขามหวาน แคนตาลูป น้ำส้มคั้น น้ำมะพร้าว 
ย้ำอีกทีว่าการระวังอาหารโปตัสเซียมสูงนี้เป็นเรื่องของคนเป็นโรคระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตแล้วเท่านั้นนะ ไม่ใช่เป็นโรคระยะ 3 อย่างคุณก็ดันไปคุมโปตัสเซียมกับเขาด้วย ไม่ใช่นะ อย่าทำผิด 

4 อย่าให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด เรื่องนี้สำคัญที่สุด ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตรขึ้นไป ยกเว้นเมื่อเข้าระยะปลายๆของโรคซึ่งมีอาการบวมแล้ว จึงค่อยจำกัดน้ำตามที่แพทย์บอก ตอนนี้ยังไม่บวม อย่าพาซื่อว่าเป็นโรคไตต้องจำกัดน้ำ ถ้าทำอย่างนั้นไตพังแน่นอน

5 ต้องป้องกันโรคที่ป้องกันได้ให้หมด ไปตรวจเลือดดูว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือมีภูมิคุ้มกันตับอักเสบบีหรือไม่ หากไม่มีเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็ฉีดวัคซีนเสีย จะให้ดีควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีทุกปีด้วย 

6 ต้องไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เรื่องที่ต้องบอกหมอให้เฝ้าระวังคือการขาดวิตามินดี และการเกิดโลหิตจาง (ฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10%) ซึ่งเมื่อเกิดต้องให้หมอรักษา

ทำทั้งหมดที่ผมบอกนี้ แล้วผมรับประกันว่าโรคไตของคุณจะไม่เสื่อมลงไปถึงระยะ 5 ซึ่งต้องล้างไตอย่างแน่นอน ผมมีคนไข้โรคไตระยะ 3 และ 4 หลายคน ที่พอทำตัวดีแล้วการทำงานของไตก็ดีขึ้น คุณก็ต้องดีขึ้นสิ โชคดีนะครับ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น: